We use cookies on this website to enhance your user experience. By continuing on this website you are agreeing to the use of these cookies. View our Privacy Policy for more information.

หอศิลป พีระศรี :

จุดเริ่มต้นหอศิลป์สมัยใหม่แห่งแรกในประเทศไทย

words by
ณรงค์ศักดิ์ นิลเขต
photography by

นิทรรศการ “ศิลปะ-ไทย-เวลา” เยือนย้อนหลังหอศิลป พีระศรี : โครงการ 100 ปี คอร์ราโด เฟโรชี (ศิลป พีระศรี) ถึงสยาม

โมเดลจำลองแบบอาคารหอศิลป พีระศรี

ย้อนกลับไปเกือบ 50ปีที่แล้วในประเทศไทยยังขาดการส่งเสริมศิลปะและขาดสถานที่จัดแสดงผลงานศิลปะที่เรียกว่า"หอศิลป์"  แต่ ด้วยการผลักดันจากกลุ่มผู้อุปถัมภ์และรักศิลปะ"หอศิลป์พีระศรี" ก็ได้ปรากฏตัวต่อสาธารณชนบนพื้นที่ขนาด1 ไร่ ในซอยอรรถการประสิทธิ์ (ซอยสาทร 1) หอศิลป์ใหม่แห่งนี้ออกแบบโดยหม่อมหลวงตรีทศยุทธ เทวกุลโดยอาคารถูกออกแบบในรูปแบบสมัยใหม่ที่ยาวล้อไปกับที่ดินภายในอาคารแบ่งพื้นที่ให้ใช้สอยเพื่อรองรับผลงานศิลปะที่มีรูปแบบหลากหลาย เช่นนิทรรศการศิลปะ การแสดงละครเวที การแสดงดนตรี การฉายภาพยนตร์ การบรรยายและสัมมนารวมถึงการแสดงเชิงทดลองต่างๆ หอศิลป์เปิดให้ผู้คนเข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 14พฤษภาคม พ.ศ. 2517 และถือเป็นหอศิลป์ที่ครอบคลุมและเป็นที่ยอมรับในสมัยนั้น

ผลงาน ปลาใหญ่กินปลาเล็ก (2512) โดย ประพันธ์ ศรีสุตา

ช่วงระยะเวลาดำเนินการของหอศิลป พีระศรี ได้เผชิญหน้ากับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองในประเทศไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ 6 ตุลา,  นโยบายคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523และนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า เป็นต้นผลงานศิลปะหลายชิ้นถูกใช้เป็นเครื่องมือแสดงความคิดเห็นต่อสังคมและแสดงจุดยืนทางการเมืองของศิลปินหอศิลป พีระศรี กลายเป็นเวทีสำคัญให้กับกลุ่มศิลปินเพื่อรองรับการแสดงออกและความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ นอกจากนี้แล้วหอศิลป พีระศรียังทำหน้าที่ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทำให้ผู้ชมได้รับรู้และเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม นับว่าหอศิลป พีระศรีมีบทบาทสำคัญในฐานะพื้นที่สาธารณะอย่างยิ่ง 

ผลงาน โมนาเปลี่ยนโฉม (2528) โดย อภินันท์ โปษยานนท์

หอศิลป พีระศรี ได้ปิดตัวลงในปี พ.ศ. 2531รวมระยะการดำเนินงาน 14 ปี นำเสนอนิทรรศการและกิจกรรมทางศิลปะอย่างต่อเนื่องมากกว่า200 รายการ ตั้งแต่รูปแบบตามขนบไปจนถึงศิลปะเชิงทดลองที่ไม่มีในสารบบและเปิดโอกาสให้กับศิลปินต่างชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลกไปจนถึงศิลปินและกลุ่มศิลปินหน้าใหม่ในประเทศนำเสนอผลงานและความคิดสร้างสรรค์อันหลากหลาย 

ผลงาน บทสนทนาของ 3 ไอ้หัวเหลี่ยม  (2528) โดย วสันต์สิทธิเขตต์   

ในโอกาสครบ100 ปีของศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ได้มีการจัดนิทรรศการ “ศิลปะ-ไทย-เวลา”เยือนย้อนหลังหอศิลป พีระศรี : โครงการ 100 ปี คอร์ราโด เฟโรชี (ศิลป พีระศรี)ถึงสยาม ขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นับเป็นวาระครบรอบสำคัญของวงการศิลปะไทยโดยถือว่าท่านเป็นบิดาศิลปะสมัยใหม่ของประเทศไทยและเป็นผู้ที่จุดประกายการริเริ่มการสร้างหอศิลป์สาธารณชนแห่งแรกของประเทศ คือหอศิลป พีระศรีเพื่อให้เป็นสถาบันที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนสังคมและศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และพื้นที่แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ทางศิลปะนิทรรศการครั้งนี้ทำให้เห็นจุดกำเนิดของหอศิลป์ในประเทศไทยรวมถึงภูมิทัศน์ทางศิลปะในช่วงเวลานั้นซึ่งเป็นความพยายามในการเชื่อมร้อยและผลักดันแวดวงศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยทุกแขนงให้พัฒนาไปข้างหน้าผนวกไปกับความสัมพันธ์ของบริบททางสังคมและการเมืองไทย ผ่านคลังข้อมูล จดหมายเหตุและผลงานที่เคยจัดแสดงในหอศิลป พีระศรีนับว่าเป็นปรากฏการณ์ทางศิลปะครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ศิลปะที่ควรค่าต่อการศึกษาและเผยแพร่สู่สาธารณชน 

การชมบันทึกการแสดงละครเวทีอยากให้ชีวิตนี้...ไม่มีเธอ โดยคณะละครสองแปด

ผลงาน ศิลป พีระศรี (2504) โดย มีเซียม ยิบอินซอย  
นิทรรศการ “ศิลปะ-ไทย-เวลา”เยือนย้อนหลังหอศิลป พีระศรี : โครงการ 100 ปี คอร์ราโด เฟโรชี (ศิลป พีระศรี)ถึงสยาม จัดแสดงระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ณ ชั้น 8หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดโดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับมูลนิธิหอศิลป พีระศรี และ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำทีมภัณฑารักษ์โดย ฉัตรวิชัยพรหมทัตตเวที รองประธานกรรมการมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครและอดีตผู้อำนวยการหอศิลป พีระศรีนิทรรศการครั้งนี้จึงจัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของหอศิลปพีระศรี ผ่านนิทรรศการจดหมายเหตุและผลงานศิลปะ ซึ่งนับว่าเป็น “จุดเริ่มต้น”นิเวศน์ทางศิลปะที่สำคัญ

BAC principal supporter
OE logoAriseHealth logo