รัชดี อันวาร์ ใช้การเสียดสีเพื่อล้อเลียนความย้อนแย้งทางการเมืองผ่านผลงานศิลปะ เหตุผลที่ซ่อนอยู่ ก็เพราะรัชดีเป็นคนเคิร์ด ซึ่งหากถามว่าชนกลุ่มวัฒนธรรมใดที่ต้องเผชิญกับปัญหาและผลกระทบจากกลยุทธ์การเมืองต่างประเทศอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า คำตอบก็คือ ชนกลุ่มชาวเคิร์ด ชนชาติของชนกลุ่มน้อยและไร้รัฐที่เก่าแก่และมีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกกลุ่มหนึ่ง ดินแดนและผู้คนของชนกลุ่มเคิร์ดถูกแบ่งแยกตามอำเภอใจอยู่หลายครั้ง ครั้งแรกโดยจักรวรรดิออตโตมัน ต่อมาโดยจักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศส อีกทั้งยังมีการแทรกแซงทางทหารที่นำโดยสหรัฐอเมริกาและการแทรกซึมที่เกิดขึ้นล่าสุดโดยกลุ่ม ISIS
นิทรรศการ A Hope and Peace to End All Hope and Peace สำรวจสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเส้นพรมแดนที่ถูกเขียนแบ่งตามใจชอบโดยเหล่ามหาอำนาจต่างชาติที่สู้รบกันเพื่อช่วงชิงอำนาจในการปกครองภูมิภาคที่เรียกขานกันมานมนานว่า 'ตะวันออกกลาง' ผ่านผลงานศิลปะที่ก่อร่างสร้างจากมุมมอง ประสบการณ์ และความทรงจำของรัชดี ผู้ชื่นชอบการสะสมรวบรวมและบันทึกข้อมูลและผลลัพธ์ที่เกิดจากกลอุบายทางการเมืองดังกล่าว ผลงานการจัดวางสื่อผสมของรัชดีจึงเป็นเหมือนบทเรียนวิชาประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากตำราเรียนที่รัฐหรือสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปอนุมัติใช้สอน โดยเขาเลือกใช้สถานที่หรือเหตุการณ์หนึ่งเป็นพิเศษเพื่อทำหน้าที่เป็นเลนส์สำรวจล้วงลึกถึงความเป็นมาในทางภูมิรัฐศาสตร์ของความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคแห่งนี้อยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมถึงสถานการณ์ผู้ลี้ภัยพลัดถิ่นที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในปัจจุบันด้วย
นิทรรศการนี้เป็นนิทรรศการเดี่ยวที่นำเสนอเรื่องราวสำคัญทางประวัติศาสตร์สามเรื่องด้วยกัน เรื่องแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อตกลงไซกส์-ปิโกต์ พ.ศ. 2459 ซึ่งเป็นเอกสารที่ประเทศอาณานิคม ได้แก่ อังกฤษกับฝรั่งเศส จัดทำขึ้นมาเพื่อแบ่งภูมิภาค 'ตะวันออกกลาง' แห่งนี้ออกเป็นเขตพื้นที่ต่างๆ อย่างไร้ซึ่งตรรกะอันสมเหตุสมผล จนก่อเกิดเป็นความโกลาหลขัดแย้งเพื่อแย่งชิงทรัพยากรเชื้อเพลิงจนกระทั่งทุกวันนี้ เรื่องที่สองเกี่ยวกับบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในด้านการสนับสนุนวัฒนธรรมและการต่อสู้เพื่ออำนาจอธิปไตยของชาวเคิร์ด ไม่ว่าจะเป็น ชีค มาห์มุด บาร์ซานจิ (พ.ศ. 2421-2499) 'กษัตริย์' ที่ชาวเคิร์ดรักและเทิดทูน ผู้ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นขวากหนามสำคัญของจักรวรรดิอังกฤษที่ต้องการเข้ามาปกครองดินแดนของชาวเคิร์ด ไปจนถึง โหชยาร์ ไบยาเวลาย ชาวเคิร์ดที่มุ่งมั่นเก็บกู้ทุ่นระเบิดให้สิ้นซากไปจากดินแดนของชนกลุ่มเคิร์ดปัจจุบัน และเรื่องที่สาม การเลียนแบบวิธีการสร้างความหวาดกลัวในยุคอาณานิคม อย่างการโฆษณาชวนเชื่อที่อังกฤษนำมาใช้ การกดขี่ในยุคซัดดัม ฮุสเซน ไปจนถึงการก่อการร้ายของกลุ่ม ISIS ที่ล้วนส่งผลทำให้ภูมิทัศน์แห่งนี้ ทั้งผู้คนและพื้นที่ ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานขนานใหญ่ ทั้งจากการพลัดถิ่นฐานของผู้คนจำนวนมากและจากการถูกพังทลายจนย่อยยับของสภาพบ้านเมืองและโครงสร้างสำคัญ ซึ่งยังคงถูกบ่อนทำลายอยู่เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน ทั้งโดยสงครามตัวแทนของชาติมหาอำนาจและแนวคิดสุดโต่งทางศาสนา
ทั้งงานประติมากรรม การจัดวาง เสียง และภาพเคลื่อนไหวที่นำเสนอในนิทรรศการนี้ต่างทำหน้าที่สำรวจเหตุการณ์ทางประวัติศาตร์ ผ่านสื่อวัสดุที่ศิลปินนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงาน อย่างผืนพรมทอมือ ภาพถ่ายและเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ งานสำริด งานช่างไม้ในยุคอาณานิคม ภาพพิมพ์มือ อุปกรณ์ที่ใช้หล่อหลอมลูกระเบิด สารคดีภาพยนตร์ ข้อความโฆษณาชวนเชื่อที่เผยแพร่ทางวิทยุในอดีตและสื่ออื่นๆ อีกมากมาย
นิทรรศการนี้ มุ่งนำเสนอสถานการณ์ความยากลำบากที่ 'ตะวันออกกลาง' ต้องประสบ ผ่านเรื่องราวของวีรบุรุษที่กลายเป็นผู้ร้ายและมิตรสหายที่กลายเป็นศัตรู และการสำรวจเพื่อให้เข้าใจถึงกลไกที่ประเทศอาณานิคมนำมาใช้ ที่ส่งผลทำให้เกิดสถานการณ์ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นคู่ขนานกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคที่ยังคงเผชิญกับผลกระทบและความปรารถนาที่จะแบ่งแยก พิชิต และแสวงหาผลประโยชน์ของจักรวรรดิอาณานิคม ผลงานศิลปะที่เปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์พร้อมมอบมุมมองที่ไม่เหมือนใครเพื่อให้ผู้รับชมชาวไทย
information provided by event organizer
MORE LIKE THIS