การแสดง & ภาพยนตร์

Mo[ram]lam Project และครบรอบ 100 ปีการจากไปของ คาฟคา

กำกับและแนวคิดโดย จิตติ ชมพี

วันที่:

1-14 พฤศจิกายน 2567

การแสดง & ภาพยนตร์

Mo[ram]lam Project และครบรอบ 100 ปีการจากไปของ คาฟคา

กำกับและแนวคิดโดย จิตติ ชมพี

วันที่:

1-14 พฤศจิกายน 2567

การแสดง & ภาพยนตร์

Mo[ram]lam Project และครบรอบ 100 ปีการจากไปของ คาฟคา

กำกับและแนวคิดโดย จิตติ ชมพี

วันที่:

1-14 พฤศจิกายน 2567

Mo[ram]lam Project และครบรอบ 100 ปีการจากไปของ คาฟคา

ในขณะที่ยังคงรักษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของหมอลำไว้ Mo[ram]lam ได้สร้างภูมิทัศน์เสียงแบบเรียบง่ายจากรูปแบบดั้งเดิมที่สุดของหมอลำ ที่รู้จักกันในชื่อลำผีฟ้าและลำพื้น โดยมุ่งเน้นไปที่ประเด็นเกี่ยวกับศาสนา จิตวิญญาณ และความเจ็บป่วย ซึ่งเป็นสิ่งที่คาฟคาให้ความสำคัญในชีวิตและผลงานของเขา การกลับไปสู่รากเหง้าของหมอลำในความเชื่อเรื่องผี พุทธศาสนา และแนวปฏิบัติพื้นบ้าน สามารถฟื้นฟูมิติต่าง ๆ ของประเพณีที่ถูกบดบังด้วยการทำให้เป็นเชิงพาณิชย์ ในขณะเดียวกันก็สร้างรูปแบบใหม่สำหรับการแลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรมและสหวิทยาการ ซึ่งแตกต่างจากการที่หมอลำถูกซึมดูดซับเข้าสู่ความบันเทิงมวลชน โดยนำความยืดหยุ่นของหมอลำมาเผชิญหน้ากับการทดลองของการเต้นแบบร่วมสมัย

ประเพณีการแสดงแบบด้นสดเชิงขนบและการบรรยากาศที่ตกอยู่ในภวังค์ภาวะเคลิบเคลิ้มที่เกิดขึ้นในลำผีฟ้า ซึ่งเป็นพิธีกรรมการรักษาผ่านหมอผีแบบชามาน รวมถึงการเลียนแบบเสียงสัตว์และเสียงการสวดมนต์เทศน์ของพระสงฆ์ในลำพื้น นำเสนอผ่านกระบวนการถอดรหัสล้วนเป็นอนุพันธ์ของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอีสาน และเป็นแรงบันดาลใจหลักสำหรับการผสมผสานทางวัฒนธรรมเหล่านี้ ซึ่งจะค่อย ๆ เผยตัวไปตามแนวคิดหลักของเทศกาล นอกจากนี้ การแบ่งแยกทางเพศของลำผีฟ้าและลำพื้น ซึ่งต้องใช้นักร้องหญิงสำหรับลำผีฟ้าและนักร้องชายสำหรับลำพื้น ทำให้เห็นถึงการยังเปิดพื้นที่ในการสำรวจโครงสร้างทางเพศสภาวะที่ทับซ้อนกันในระหว่างระดับภูมิภาคและระดับโลก
ตลอดชีวิตของคาฟคาที่หมกมุ่นอยู่กับปัญหาสุขภาพและอาการเจ็บป่วยจากวัณโรค - ซึ่งเขามองว่าเป็นสภาวะทางอัตถิภาวะและมักพิจารณาในเชิงสัญลักษณ์ - แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แตกต่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับลำผีฟ้า ใน "แพทย์ชนบท" เรื่องสั้นที่เขียนขึ้นหลังจากได้รับการวินิจฉัยโรค คาฟคาได้อธิบายความเจ็บป่วยและการรักษาทางการแพทย์ในเชิงอ้อมว่าเป็นประเด็นทางจิตวิญญาณ ประสบการณ์การเจ็บป่วยและมุมมองต่อการดูแลสุขภาพของคาฟคาสามารถนำมาเปรียบเทียบอย่างลึกซึ้งกับลำผีฟ้า ซึ่งเป็นพิธีกรรมการรักษาที่ดำเนินการผ่านหมอลำหญิงและผู้เล่นแคน ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางทางจิตวิญญาณเพื่อเรียกและเซ่นไหว้ "ผีฟ้า" ผ่านบทเพลงและการเคลื่อนไหวแบบด้นสด เพื่อรักษาบุคคลที่ป่วยหนัก พิธีกรรมเหล่านี้อาจใช้เวลา [ทั้งวัน?] และนำผู้ชมที่มารวมตัวกันเข้าสู่สภาวะทรานซ์ (การตกอยู่ในภวังค์) ศิลปินจะตีความลวดลายของลำผีฟ้าใหม่ผ่านการเคลื่อนไหวและภาษาเฉพาะของตนเอง ในขณะที่สำรวจแง่มุมต่าง ๆ ในชีวิตและผลงานของคาฟคา
โครงการ Mo[ram]lam การนำเสนอทางเลือกใหม่ต่อความเป็นไปได้เพื่อต่อต้านแนวโน้มของการเต้นรำแบบร่วมสมัยในภูมิภาคที่มักถูกกำหนดโดยรูปแบบและกระแสจากต่างประเทศที่คิดค้นในตะวันตก Mo[ram]lam จึงได้พลิกกระแสการขยายตัวทางวัฒนธรรมด้วยการให้ความสำคัญกับรูปแบบหมอลำท้องถิ่นที่เก่าแก่และเป็นท้องถิ่นที่สุดสองรูปแบบ และเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือข้ามวัฒนธรรมให้ที่แผ่ขยายออกไป ตลอดจนการแสดงออกซึ่งความแตกต่างหลากหลายที่แทรกตัวอยู่ในชีวิตประจำวัน ที่ที่สำคัญ คือการ นำเสนอหมอลำเชิงทดลองนี้สู่สายตาคนไทยและต่างชาติ
ในขณะที่ประเพณีพื้นถิ่นถูกทำให้เป็นจุดศูนย์กลางแทนการดำรงไว้รอบนอก นำมาสู่การสำรวจอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทย ตลอดจนรูปแบบใหม่ในการสร้างคุณค่าทางวัฒนธรรมที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์ทางศิลปะเชิงนวัตกรรมและสหสาขา ที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างศิลปินไทยและนานาชาติ จนสุดท้ายการต่อยอดการแสดงพื้นถิ่นอย่างหมอลำนี้จะช่วยเปิดพื้นที่ให้กับศิลปะไทยร่วมสมัย

ศิลปินที่ได้รับมอบหมายให้สร้างสรรค์ท่าเต้นประกอบบทเพลงหมอลำชิ้นเดียวกัน ไม่เพียงแต่ต้องศึกษาหมอลำและปรับรูปแบบการแสดงของตนให้เข้ากับมันเท่านั้น แต่ยังต้องปรับตัวให้เข้ากับจังหวะที่สอดคล้องกันระหว่างผลงานของพวกเขา เพื่อที่จะสามารถแสดงพร้อมกันได้อย่างกลมกลืน

1-14 พฤศจิกายน 2024 10:00-18:00
สถานที่: หอศิลป์บ้านจิมทอมป์สัน

information provided by event organizer

หอศิลป์บ้านจิมทอมป์สัน

บ้านจิมทอมป์สัน 6 ซ.เกษมสันต์ 2 ถ.พระราม 1 กรุงเทพฯ

โซน

2

ทุกวัน 10:00-18:00 ค่าเข้าชม: 50 บาท (ไม่รวมพิพิธภัณฑ์)

BTS: สนามกีฬาแห่งชาติ

หอศิลป์บ้านจิมทอมป์สัน

บ้านจิมทอมป์สัน 6 ซ.เกษมสันต์ 2 ถ.พระราม 1 กรุงเทพฯ

โซน

2

ทุกวัน 10:00-18:00 ค่าเข้าชม: 50 บาท (ไม่รวมพิพิธภัณฑ์)

BTS: สนามกีฬาแห่งชาติ