นิทรรศการ

​​​​​​​สภาวะอารมณ์จากอดีต และการทำลายล้าง

ปฏิภาณ สมทิพย์

วันที่:

22 พ.ค. - 23 มิ.ย. 2567

ผลงานชุดนี้ของศิลปินได้แสดงออกถึงความรู้สึกส่วนลึกที่อยู่ภายในจิตใจ การเผชิญหน้าต่อเหตุการณ์เลวร้าย และอารมณ์แห่งความเจ็บปวดจนกลายเป็นสภาวะซึมเศร้า (Depression) ศิลปินค้นพบว่าศิลปะเป็นเครื่องมือเยียวยารักษาบาดแผล และช่วยให้หลุดพ้นจากสภาวะซึมเศร้าได้อย่างรวดเร็ว โดยศิลปินถ่ายทอดผ่านรูปทรงที่ถูกขีดเขียนให้เป็นไปตามความรู้สึกเชิงลึกในเชิงรูปแบบนามธรรม เส้นและแรงเงาลักษณะที่ทับซ้อนกันเปรียบได้เหมือนอารมณ์ที่ซ้อนทับกันหลายมิติ เสมือนปมที่มัดไว้อย่างไม่มีทางแก้ไขได้ ในขณะเดียวกันเมื่อผลงานที่ถูกสร้างสรรค์แต่ละชิ้นได้สำเร็จลุล่วง ก็ยังเปรียบเสมือนได้ปลดตัวเองออกจากพันธนาการทางความรู้สึกด้วยเช่นเดียวกัน

แนวคิดนิทรรศการ
การแสดงออกทางศิลปะที่สะท้อนถึงความเป็นตัวตนของข้าพเจ้าได้ยึดถือทฤษฎีนิยมอารมณ์ (Emotionalism Theory) เป็นสำคัญ โดยทฤษฎีการสร้างงานศิลปะต่าง ๆ เหล่านี้ได้แสดงออกถึงความรู้สึก และห้วงอารมณ์ ณ ช่วงเวลานั้น ผลงานที่ปรากฏออกมาจึงมีลักษณะนามธรรม (Abstract) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์ การตีความ และการทำความเข้าใจห้วงอารมณ์ส่วนลึก (Deep emotional) ที่ปรากฏ อยู่ในชิ้นงาน

ผลงานชุดนี้ได้แสดงออกถึงความรู้สึกส่วนลึกที่อยู่ภายในจิตใจ กล่าวได้อย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นการสะท้อนตัวตนภายในของข้าพเจ้าโดยแท้จริง ซึ่งในช่วงเวลาที่เป็นปกตินั้นมักไม่แสดงออกโดยการใช้วัจนภาษา แต่เมื่อใช้ "ศิลปะ" ในการสื่อสารภาวะอารมณ์แทนความรู้สึกที่ก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการเผชิญหน้าต่อเหตุการณ์เลวร้ายและห้วงอารมณ์แห่งความเจ็บปวดจนกลายเป็นสภาวะซึมเศร้า (Depression) ในแต่ละครั้งที่ต้องเผชิญหน้ากับสภาวะดังกล่าวที่ดูเหมือนจะเป็นดั่งฝันร้ายในโมงยามแห่งวิกาล และทิวากาล ข้าพเจ้าได้ใช้มือทั้งสองสร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้ออกมา ผลงานแต่ละชิ้นจึงใช้เวลาในการสร้าง เพียงแค่ชั่วครู่ บางชิ้นงานใช้เวลาไม่เกินราตรีเดียว และแม้บางชิ้นงานอาจใช้เวลายาวนาน แต่ก็มักจะไม่เกินระยะเวลาเพียงสัปดาห์เดียว เนื่องจากความรู้สึกเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนไม่อาจทันตั้งตัว และข้าพเจ้าได้ตระหนักว่าความรู้สึกจมดิ่งในห้วงอารมณ์นั้นได้หายไปเมื่อชิ้นงานสำเร็จ อาจกล่าวได้อย่างเป็นนัยยะสำคัญว่า ศิลปะคือยารักษาบาดแผลให้แก่ชีวิตข้าพเจ้าโดยแท้จริง เพราะการลงมือปฏิบัติงานแต่ละชิ้นเปรียบเสมือนการรักษาและเยียวยาจิตใจของตัวข้าพเจ้าเองให้หลุดพ้นจากสภาวะซึมเศร้าได้อย่างรวดเร็ว

ลักษณะของผลงานที่สังเกตได้อย่างชัดเจน คือ ภาพที่มักจะไม่มีรูปทรงกำหนดตายตัวนัก รูปทรงที่เห็นถูกขีดเขียนให้เป็นไปตามความรู้สึกในเชิงลึกในเชิงรูปแบบนามธรรม อีกทั้งลักษณะเส้นและแรงเงา มักเป็นไปในเชิงลักษณะทับซ้อนกันเปรียบได้เหมือนอารมณ์ที่ซ้อนทับกันหลายมิติในห้วงของความรู้สึก สะท้อนทั้งความยุ่งเหยิงและความไร้ระเบียบทางอารมณ์

ถึงแม้ว่างานแต่ละชิ้นจะถูกสร้างจากอารมณ์เชิงลบ แต่ทว่างานแต่ละงานข้าพเจ้าใช้ความตั้งใจอย่างยิ่ง ในการสร้างสรรค์ และในขณะเดียวกันเมื่อชิ้นงานแต่ละชิ้นได้สำเร็จลุล่วงลงไป ความรู้สึกที่เปรียบเสมือน ปมที่มัดไว้อย่างไม่มีทางแก้ไขได้หลุดออกอย่างอิสระด้วยตัวมันเอง เหมือนว่าตัวของข้าพเจ้าเองนั้นได้ปลดตัวเอง จากพันธนาการทางความรู้สึกด้วยเช่นเดียวกัน

information provided by event organizer

BACC pop•up

พีเพิลส์แกลเลอรี ห้อง P1 ชั้น 3

ชั้น 3 โครงการมันมัน (MUNx2) ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250

โซน

4

ทุกวัน 11:00-19:00

MRT: สวนหลวง ร.9

BACC pop•up

พีเพิลส์แกลเลอรี ห้อง P1 ชั้น 3

ชั้น 3 โครงการมันมัน (MUNx2) ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250

โซน

4

ทุกวัน 11:00-19:00

MRT: สวนหลวง ร.9

MORE LIKE THIS

8 Seconds: นิทรรศการภาพถ่ายฟิล์มกระจกเปียกโคโลเดียน

นิโก้ เซเป้ x 10 ศิลปินในโครงการภาษาแห่งจิตวิญญาณ

นิโก้ เซเป้ x 10 ศิลปินในโครงการภาษาแห่งจิตวิญญาณ

นิโก้ เซเป้ x 10 ศิลปินในโครงการภาษาแห่งจิตวิญญาณ

A Million Little Odd Things, the Last Promise, and One Big Picture

นพไชย (ต้อย) อังควัฒนะพงษ์ และ ปิยลักษณ์ เบญจดล

นพไชย (ต้อย) อังควัฒนะพงษ์ และ ปิยลักษณ์ เบญจดล

นพไชย (ต้อย) อังควัฒนะพงษ์ และ ปิยลักษณ์ เบญจดล

รูปโคจร

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, อารยา ราษฎร์จำเริญสุข, ปรัชญา พิณทอง, สถิตย์ ศัสตรศาสตร์, และสรวิศ ทรงสัตย์

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, อารยา ราษฎร์จำเริญสุข, ปรัชญา พิณทอง, สถิตย์ ศัสตรศาสตร์, และสรวิศ ทรงสัตย์

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, อารยา ราษฎร์จำเริญสุข, ปรัชญา พิณทอง, สถิตย์ ศัสตรศาสตร์, และสรวิศ ทรงสัตย์

PLUTO NEPTUNE 7 10 40 54

โลเล ทวีศักดิ์, แพร นัดดา, โรมัน และ นินจา

โลเล ทวีศักดิ์, แพร นัดดา, โรมัน และ นินจา

โลเล ทวีศักดิ์, แพร นัดดา, โรมัน และ นินจา