Bangkok with Elle

พบกับเนื้อหาใหม่ “เที่ยวกรุงเทพกับแอล” จะพาเราเดินเท้าค้นพบกรุงเทพที่เราอาจคาดไม่ถึง

Elle

เส้นทาง

เส้นทาง

เส้นทาง

คลองหลอด คลองเล็กๆที่มีสายน้ำมาไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ในอดีตคลองนี้เคยเป็นสถานที่ทางการค้าที่สำคัญ เป็นคลองประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร ตลอดสายของคลองหลอดจะประกอบโดยศิลปะที่หลากหลาย จะเห็นได้จากสถาปัตยกรรม และการออกแบบสะพานข้ามคลองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละสะพาน มากไปกว่านี้ ยังมีทางเท้าเลียบคลองให้เราเดินรับลม ชมพระอาทิตย์และบรรยากาศของเมืองเก่ารอบๆ พร้อมทั้งแวะตามจุดสถานที่สำคัญที่ควรไปเยือนค่ะ

ระหว่างเดินเลียบคลอง จะมีบรรยากาศแบบนี้

‍เริ่มออกเดินจากจุดนี้ได้เลย จะมีป้ายคลองคูเมืองเดิม อยู่เชิงสะพานปีกุนฝั่งถนนราชินี

สะพานปีกุน

สะพานทางเดินนี้สร้างโดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2454 ซึ่งได้ทรงพระราชทานค่าก่อสร้างเพื่อฉลองในวาระที่ครบรอบ 48 ปีพรรษาของพระองค์ในปีกุน  ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นการก่อตั้งของสะพาน โดย ขณะนั้นยังไม่มี ชื่อเรียก จนเมื่อมีการสร้างอนุสรณ์หมูขึ้นใกล้ๆ จึงเรียกว่า หรือสะพานปีกุน (สะพานปีหมู) นั่นเอง  สะพานนี้ตกแต่งเสาคอนกรีตเซาะร่องบริเวณหัวสะพานทั้ง 2 ฝั่ง รวม 4 ต้น หมายถึง เทียนประทีปพระชันษา มีบันไดขึ้นลงเป็นรูปครึ่งวงกลม

อนุสาวรีย์หมู หรือ อนุสรณ์หมู 

อนุสรณ์นี้ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2456 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระชนม์พรรษาครบรอบ 50 พรรษา ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า สหชาติอนุสรณ์ หมายถึง อนุสรณ์ของผู้ซึ่งเกิดในปีเดียวกัน คือ สมเด็จเจ้าฟ้านริศรานุวัตติวงศ์พระยาพิพัฒน์โฆษะ (เซเลสตีโน เซเวียร์) และพระยาราชสงคราม (โกษา หงสกุล) ทั้งสามได้ร่วมกันสร้างอนุสรณ์เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อ พระบรมราชินี โดยสร้างจากโลหะหล่อเป็นรูปหมู หมายถึงปีหมู ซึ่งเป็นปีประสูติของสมเด็จพระราชินี ตลอดจนผู้บริจาคทั้ง 3 ท่าน และ ผู้ออกแบบอนุสรณ์ คือ พระองค์เจ้านริศรานุวัตติวงศ์

‍สะพานช้างโรงสี

นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น และ เป็นจุดที่ผู้คนบริเวณนั้นจะทราบกันว่า เมื่อพบสะพานนี้ก็มาถึงบริเวณย่านสามแพร่งตัดกับย่านพระนคร โดยเอกลักษณ์ของสะพานคือมีรูปหัวสุนัข จากประวัติความเป็นมาพบว่า ได้มีการบูรณะนี้ในปี 2453 หรือปีจอ  นอกจากนั้น ยังมีชื่อว่า ช้างโรงสี เพราะผู้คนต่างคาดเดาว่า เคยมีช้างเดินข้ามสะพานบวกกับโรงสีที่เคยตั้งอยู่ใกล้สะพาน สะพานนี้สวยงามด้วยการตกแต่งลูกกรงปูน มีลายเรียวเชือกบนราวจับตลอดทั้งสะพาน และประดับด้วยปูนปั้นรูปหัวสุนัขที่ปลายราวจับทั้งสี่ด้านอีกด้วย

 สะพานหก

ก่อตั้งในยุคสมัยรัชกาลที่ 5  สมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เป็นที่รู้จักว่าเป็นสะพานที่ประยุกต์แบบมาจากสะพานข้ามคลองในเนเธอร์แลนด์ มีการตั้งชื่อว่า สะพานหกวิลันดา โดยสะพานหกจะมีข้อแตกต่างจากสะพานอื่นๆตรงที่สามารถเปิดได้ เพื่อให้เรือผ่าน ซึ่ง หก ก็คือยกขึ้นแยกจากกัน หลังจากที่สะพานหกเดิมได้ผุพังไป มีการซ่อมแซมสะพานไว้ให้เป็นแบบดั้งเดิมแต่แปลงเป็นสะพานไม้สำหรับคนเดิน 

‍‍

ตรอกครุฑ

โดยบริเวณใกล้เคียง เมื่อเราผ่านสะพาน 6 มาไม่ไกลมาก หันไปทางขวาเราก็จะเจอตรอกครุฑ ให้เลี้ยวขวาเข้าไปเราก็จะสามารถเข้าไปขอพรศาลเจ้าพ่อครุฑค่ะ เป็นศาลที่ผู้คนมาขอพรทางด้านการงานการเงินโชคลาภเงินทองความสุขต่างๆเพื่อเสริมบารมี และความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยเราสามารถขอโดยห้ามบนนะคะ

หากเดินไปเรื่อยๆประมาณ 3-4 นาที เราเดินมาถึงที่ วัดบุรณศิริมาตยาราม


‍วัดบุรณศิริมาตยาราม

เป็นวัดพุทธที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร เป็นที่รู้จักกันดีในด้านสถาปัตยกรรมที่สวยงาม รวมถึงเจดีย์สีทองขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยเจดีย์ขนาดเล็กและรูปปั้น วัดแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์การศึกษาทางพุทธศาสนาและการทำสมาธิ โดยมีชั้นเรียนและการฝึกอบรมในหัวข้อต่างๆ เช่น การทำสมาธิ การเจริญสติ และปรัชญาทางพุทธศาสนา เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่นที่สนใจสัมผัสมรดกทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรมอันรุ่มรวยของไทย

เมื่อเราลัดเลาะคลองหลอดต่อมาอีกนิดก็จะพบกับ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร

เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่สำคัญในประเทศไทยจัดแสดงโบราณวัตถุและงานศิลปะมากมายตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังเก่าและมีการจัดการแสดงเกี่ยวกับปฏิมากรรมทางพุทธศาสนาโบราณ สิ่งทอไทยแบบดั้งเดิม เครื่องราชกกุธภัณฑ์และศิลปะร่วมสมัย นอกจากนี้ยังจัดนิทรรศการหมุนเวียนจากนานาชาติอีกด้วย โดยพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาตินี้เป็นสถานที่ที่ไม่ควรพลาดสำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย

จบไปแล้วนะคะสำหรับการลัดเลาะรอบๆคลองคูหรือที่เรียกกันติดปากว่าคลองหลอด  นับว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การเดินเล่นในช่วงแดดร่มลมตกเป็นอย่างมากค่ะ เราได้ค้นพบเห็นวัฒนธรรม ประติมากรรม ตึกรามบ้านช่อง รวมทั้งความเป็นอยู่ของผู้คนในละแวกนั้น ซึ่งเคยเป็นแหล่งขายอุปกรณ์เครื่องดนตรีแห่งใหญ่ แต่เมื่อเวลาหมุนไปร้านค้าเหล่านี้ก็ได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลากับ ในปัจจุบัน เราสามารถเดินชมอาคารที่มีกลิ่นอายของสถาปัตยกรรมตะวันตกจากอดีต ที่เป็นรากฐานของอาคารล้ำสมัยในปัจจุบัน

MORE STORIES

คุณกบ ทรงสิทธิ์ กับชีวิต ศิลปะ และมนต์เสน่ห์ของละครเพลง

โดย ไอน่า สริตา สวอร์ทล์

ถอดรหัสความสำเร็จหนังไต้หวันกับผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสนุกป่วนโลก

การสร้างสรรค์นวัตกรรมวัสดุสิ่งทอทดแทนจากการใช้ “ดิน”

โดย ดร. ขจรศักต์ นาคปาน

Photo Essay BAC x RPST

โดย RPST และ BAC EDITORIAL