หอศิลป พีระศรี :
จุดเริ่มต้นหอศิลป์สมัยใหม่แห่งแรกในประเทศไทย
โดย ณรงค์ศักดิ์ นิลเขต
นิทรรศการ “ศิลปะ-ไทย-เวลา” เยือนย้อนหลังหอศิลป พีระศรี : โครงการ 100 ปี คอร์ราโด เฟโรชี (ศิลป พีระศรี) ถึงสยาม
โมเดลจำลองแบบอาคารหอศิลป พีระศรี
ย้อนกลับไปเกือบ 50ปีที่แล้วในประเทศไทยยังขาดการส่งเสริมศิลปะและขาดสถานที่จัดแสดงผลงานศิลปะที่เรียกว่า"หอศิลป์" แต่ ด้วยการผลักดันจากกลุ่มผู้อุปถัมภ์และรักศิลปะ"หอศิลป์พีระศรี" ก็ได้ปรากฏตัวต่อสาธารณชนบนพื้นที่ขนาด1 ไร่ ในซอยอรรถการประสิทธิ์ (ซอยสาทร 1) หอศิลป์ใหม่แห่งนี้ออกแบบโดยหม่อมหลวงตรีทศยุทธ เทวกุลโดยอาคารถูกออกแบบในรูปแบบสมัยใหม่ที่ยาวล้อไปกับที่ดินภายในอาคารแบ่งพื้นที่ให้ใช้สอยเพื่อรองรับผลงานศิลปะที่มีรูปแบบหลากหลาย เช่นนิทรรศการศิลปะ การแสดงละครเวที การแสดงดนตรี การฉายภาพยนตร์ การบรรยายและสัมมนารวมถึงการแสดงเชิงทดลองต่างๆ หอศิลป์เปิดให้ผู้คนเข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 14พฤษภาคม พ.ศ. 2517 และถือเป็นหอศิลป์ที่ครอบคลุมและเป็นที่ยอมรับในสมัยนั้น
ผลงาน ปลาใหญ่กินปลาเล็ก (2512) โดย ประพันธ์ ศรีสุตา
ช่วงระยะเวลาดำเนินการของหอศิลป พีระศรี ได้เผชิญหน้ากับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองในประเทศไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ 6 ตุลา, นโยบายคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523และนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า เป็นต้นผลงานศิลปะหลายชิ้นถูกใช้เป็นเครื่องมือแสดงความคิดเห็นต่อสังคมและแสดงจุดยืนทางการเมืองของศิลปินหอศิลป พีระศรี กลายเป็นเวทีสำคัญให้กับกลุ่มศิลปินเพื่อรองรับการแสดงออกและความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ นอกจากนี้แล้วหอศิลป พีระศรียังทำหน้าที่ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทำให้ผู้ชมได้รับรู้และเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม นับว่าหอศิลป พีระศรีมีบทบาทสำคัญในฐานะพื้นที่สาธารณะอย่างยิ่ง
ผลงาน โมนาเปลี่ยนโฉม (2528) โดย อภินันท์ โปษยานนท์
หอศิลป พีระศรี ได้ปิดตัวลงในปี พ.ศ. 2531รวมระยะการดำเนินงาน 14 ปี นำเสนอนิทรรศการและกิจกรรมทางศิลปะอย่างต่อเนื่องมากกว่า200 รายการ ตั้งแต่รูปแบบตามขนบไปจนถึงศิลปะเชิงทดลองที่ไม่มีในสารบบและเปิดโอกาสให้กับศิลปินต่างชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลกไปจนถึงศิลปินและกลุ่มศิลปินหน้าใหม่ในประเทศนำเสนอผลงานและความคิดสร้างสรรค์อันหลากหลาย
ผลงาน บทสนทนาของ 3 ไอ้หัวเหลี่ยม (2528) โดย วสันต์ สิทธิเขตต์
ในโอกาสครบ100 ปีของศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ได้มีการจัดนิทรรศการ “ศิลปะ-ไทย-เวลา” เยือนย้อนหลังหอศิลป พีระศรี : โครงการ 100 ปี คอร์ราโด เฟโรชี (ศิลป พีระศรี) ถึงสยาม ขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นับเป็นวาระครบรอบสำคัญของวงการศิลปะไทยโดยถือว่าท่านเป็นบิดาศิลปะสมัยใหม่ของประเทศไทยและเป็นผู้ที่จุดประกายการริเริ่มการสร้างหอศิลป์สาธารณชนแห่งแรกของประเทศ คือหอศิลป พีระศรีเพื่อให้เป็นสถาบันที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนสังคมและศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และพื้นที่แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ทางศิลปะนิทรรศการครั้งนี้ทำให้เห็นจุดกำเนิดของหอศิลป์ในประเทศไทยรวมถึงภูมิทัศน์ทางศิลปะในช่วงเวลานั้นซึ่งเป็นความพยายามในการเชื่อมร้อยและผลักดันแวดวงศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยทุกแขนงให้พัฒนาไปข้างหน้าผนวกไปกับความสัมพันธ์ของบริบททางสังคมและการเมืองไทย ผ่านคลังข้อมูล จดหมายเหตุและผลงานที่เคยจัดแสดงในหอศิลป พีระศรีนับว่าเป็นปรากฏการณ์ทางศิลปะครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ศิลปะที่ควรค่าต่อการศึกษาและเผยแพร่สู่สาธารณชน
การชมบันทึกการแสดงละครเวทีอยากให้ชีวิตนี้...ไม่มีเธอ โดยคณะละครสองแปด
Silpa Bhirasri (1961) by Misiem Yipintsoi
นิทรรศการ “ศิลปะ-ไทย-เวลา”เยือนย้อนหลังหอศิลป พีระศรี : โครงการ 100 ปี คอร์ราโด เฟโรชี (ศิลป พีระศรี)ถึงสยาม จัดแสดงระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ณ ชั้น 8หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดโดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับมูลนิธิหอศิลป พีระศรี และ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำทีมภัณฑารักษ์โดย ฉัตรวิชัยพรหมทัตตเวที รองประธานกรรมการมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครและอดีตผู้อำนวยการหอศิลป พีระศรี นิทรรศการครั้งนี้จึงจัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของหอศิลปพีระศรี ผ่านนิทรรศการจดหมายเหตุและผลงานศิลปะ ซึ่งนับว่าเป็น “จุดเริ่มต้น”นิเวศน์ทางศิลปะที่สำคัญ
MORE STORIES
ถอดรหัสความสำเร็จหนังไต้หวันกับผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสนุกป่วนโลก
การสร้างสรรค์นวัตกรรมวัสดุสิ่งทอทดแทนจากการใช้ “ดิน”
โดย ดร. ขจรศักต์ นาคปาน
รสชาติของฤดูใบไม้ร่วงแสนสวยและอร่อยที่ MAD BEEF
Bangkok Art City
Bangkok with Elle
Elle
Photo Essay BAC x RPST
โดย RPST และ BAC EDITORIAL